การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บัญชี 3 ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา
ผลการดำเนินงาน
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
13. ข้อมูลสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน และข้อมูลสรุปแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
(ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ : 17/07/2024)

         มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพ พ.ศ.2561 มีการกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในดำเนินการด้านการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร คณะ ศูนย์ สำนัก และสถาบัน ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกพันธกิจ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน งานประกันคุณภาพการศึกษา กองนโยบายและแผน เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการและผลักดันการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

         มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการกำกับให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมีเป็นเกณฑ์การประเมินในแต่ละอง์ประกอบคุณภาพเป็นแนวทางการดำเนินงานนั้น และเพื่อเป็นการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน และองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาภายใน โดยการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเกณฑ์มาตรฐานตามตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพต่างๆ ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสในการพัฒนา และข้อเสนอแนะ อันจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยกำหนดกรอบในการดำเนินการประเมินฯ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่รับการประเมินฯ พิจารณาเลือกผู้ประเมิน ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ มีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2566 โดยแบ่งเป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ระดับ คือ 

         1. การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ทุกสิ้นปีการศึกษา มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ทุกหลักสูตรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม โดยมหาวิทยาลัยกำหนดกรอบการประเมินฯ เปิดโอกาสให้ทุกสาขาวิชาเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญตรงศาสตร์ มีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศนโยบายการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และกำหนดวันเวลาในการประเมินตามช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยใช้รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (มคอ.7) เป็นรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดทำรายงาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพต่างๆ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และได้มาตรฐาน เพื่อให้หลักสูตรทราบสถานภาพของตนเอง อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพไปสู่เป้าหมาย (targets) และเป้าประสงค์ (goals) ที่ตั้งไว้ หลักสูตรทราบจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสในการพัฒนา และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในแนวทางที่เหมาะสม จากการขับเคลื่อนตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน ส่งผลให้หลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร 

         2. การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ทุกสิ้นปีการศึกษา มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ทุกหลักสูตรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม โดยมหาวิทยาลัยกำหนดกรอบการประเมินฯ และเปิดโอกาสให้คณะพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศนโยบายการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ ระดับคณะ ทุกคณะกำหนดวันในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) จากการขับเคลื่อนตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน ส่งผลให้คณะมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ ดังนี้ 

        

        3. การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับมหาวิทยาลัย กำหนดให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม โดยมหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศนโยบายการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  เพื่อจะได้นำผลการประเมิน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง ไปจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Improvement Plan) ซึ่งงานประกันคุณภาพการศึกษารวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ มาจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) และมีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกคณะ เพื่อได้ข้อมูลสะท้อนภาพลักษณ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย จากการขับเคลื่อนตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับมหาวิทยาลัย ดังนี้ 

 

          การประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4 ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้บัญญัติให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน นั้น เพื่อให้การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีความต่อเนื่อง เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยจึงแจ้งความประสงค์ขอรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก  ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 พร้อมทั้งจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน 11 องค์ประกอบ 32 ประเด็นพิจารณา ในแบบฟอร์ม PA 2-1, PA 2-2 ตามขั้นตอนการขอเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา จากนั้นสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แจ้งวันเข้าตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก  คือ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2566 โดยมีคณะกรรมการประเมินฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 4 คน ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย 5 ด้าน 11 องค์ประกอบ 32 ประเด็นพิจารณา เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ สมศ. ผลการประเมินคุณภาพภายนอก  รอบ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

@LPRU การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง