การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บัญชี 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
1.12 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออนาคต
(1) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการ
(ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ : 17/07/2024)

โครงการส่งเสริมการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ 2566
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้รับผิดชอบในการจัดโครงการส่งเสริมการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ 2566 เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยพัฒนาหลักสูตรจัดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มจำนวนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางให้นักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา นำไปสู่ต้นแบบหลักสูตรจัดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สามารถใช้ในการศึกษาที่เริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยตัวเอง (Self-initiated study) ได้จริงต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนับสนุนการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์/นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล
2. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้นำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ในรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

ผลผลิต
1. บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้จัดการทำหลักสูตรจัดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีโครงสร้าง เนื้อหา และวิธีการประเมินผลที่เหมาะสม
2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้หลักสูตรจัดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผลลัพธ์
   นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้เรียนรู้ และยกระดับศักยภาพ สมรรถนะทางดิจิทัล

ตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงปริมาณ
1. จำนวนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับสมรรถนะดิจิทัล ไม่น้อยกว่า 5 บทเรียน
2. จำนวนผู้เรียนในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า 200 คน

ตัวชี้วัดความสำเร็จเชิงคุณภาพ
    ร้อยละของผู้ที่สอบผ่านจากการทดสอบหลังเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของผู้เรียน

หลักสูตร/บทเรียนที่ได้รับการอนุมัติให้เผยแพร่
1. การออกแบบ Infographic
2. การนำภาพถ่ายมาทำ Video Presentation
3. การสร้างสรรค์งานกราฟิกด้วย Canva
4. การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับนักศึกษา
5. มือใหม่หัดสร้างสติ๊กเกอร์ไลน์ by ศูนย์คอมพิวเตอร์
ซึ่งทั้งหมด 5 หลักสูตรได้เผยแพร่และเปิดให้เรียนรู้ สำหรับบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผ่านเว็บไซต์ https://aritmis.lpru.ac.th/train/training/
โดยผู้เข้าเรียนรู้จำเป็นต้อง ลงทะเบียนเรียนก่อน ที่เว็บไซต์ https://mis.lpru.ac.th/index.php?url=training/ ก่อนเข้าเรียนที่ระบบเรียนรู้ดังข้างต้น

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดลำดับการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินผลที่ได้รับคืนจากผู้เข้าตอบแบบสอบถาม โดย
1. หลักสูตรการออกแบบ Infographic จำนวน 104 ฉบับ
2. หลักสูตรการนำภาพถ่ายมาทำ Video Presentation จำนวน 113 ฉบับ
3. หลักสูตรการสร้างสรรค์งานกราฟิกด้วย CANVA จำนวน 241 ฉบับ
4. หลักสูตรการใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับนักศึกษา จำนวน 98 ฉบับ
5. หลักสูตร มือใหม่หัดสร้างสติ๊กเกอร์ไลน์ By ศูนย์คอมพิวเตอร์ จำนวน 115 ฉบับ
คิดเป็น 100 % ของผู้เข้าตอบแบบสอบถามทั้งหมด 671 คน ซึ่งได้วัดผลประเมินผล หลังการรเรียนรู้ ในเว็บไซต์ https://aritmis.lpru.ac.th/train/training/

การประเมินความพึงพอใจหลังเข้าเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
นักศึกษาและผู้สนใจที่เข้าร่วมการอบรมของหลักสูตรมีความพึงพอใจหลังเข้ารับการอบรมในด้านการประเมินผลเนื้อหาการอบรม/สัมมนามีค่าเฉลี่ยในระดับความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 88.81 และเมื่อพิจารณาความคิดเห็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้ ร้อยละ 89.51 รองลงมาด้านเนื้อหาของการอบรม/สัมมนาเหมาะสมกับสถานการณ์การทำงานในปัจจุบัน ร้อยละ 89.18 ด้านความรู้ที่ได้รับหลังการเข้ารับการอบรม/สัมมนา ร้อยละ 89.06 ด้านเนื้อหาสาระที่ได้รับตรงกับความต้องการและความสนใจของท่าน ร้อยละ 88.76 ด้านความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม/สัมมนาในหัวข้อนี้ ร้อยละ 88.32 และด้านสุดท้ายด้านความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อการอบรม/สัมมนา ร้อยละ 88.02

โครงการส่งเสริมการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ 2567
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับทุนอุดหนุน ในปีงบประมาณ 2567
ทั้งหมด 7 บทเรียน

ลำดับที่ชื่อบทเรียนผู้จัดทำ 
1การตัดต่อวิดีโอด้วยโปรแกรมอย่างมืออาชีพอาจารย์กิติวัฒน์ กิติบุตร 
2ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระ พันอินทร์ 
3การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์คลื่อนที่อาจารย์ศักดิ์ชัย ศรีมากรณ์ 
4การใช้งาน ‎Gemini Chatbot AI เพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัลว่าที่ร้อยตรีวชิระ นันตี 
5กฎหมายธุรกิจผู้ช่วยศาสตราจารย์อาระดา พุ่มไพศาลชัย 
6การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเบื้องต้นด้วยโปรแกรม JAMOVIผู้ช่วยศาสตราจารย์คมคาย พันธ์เพ็ง 
7ภาษาโปรแกรม Python และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรมินทร์ วงษ์คำสิงห์ 

อยู่ระหว่างการเผยแพร่บทเรียน

@LPRU การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง