การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บัญชี 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
1.11 ระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนการศึกษาหรือการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับกรณีผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
(2) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
(ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ : 07/07/2024)

1.11 ระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนการศึกษาหรือการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับกรณีผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

(2) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

  1. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่มีความเหมาะสม  มีประสิทธิภาพและสมเหตุสมผลรวมถึงบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักศึกษาพิการของมหาวิทยาลัยโดยบริการที่จัดให้นั้นจะพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของแต่ละความพิการและความต้องการจำเป็นพิเศษของนักศึกษาเป็นรายบุคคล
  2. ปรึกษาหารือร่วมกับบุคลากรด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาอย่างสมเหตุสมผลแก่นักศึกษาพิการ
  3. ช่วยนักศึกษาพิการให้สามารถเข้าถึงโปรแกรมการศึกษา กิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มหาวิทยาลัยมีอยู่
  4. ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและนักวิชาการทางการศึกษาเกี่ยวกับการเอื้อให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นได้
  5. จัดทำแผนงบประมาณเพื่อสร้างหรือปรับสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยด้านสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สำหรับคนทุกคนและจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและจัดทำแผนอัตรากำลังบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติงานด้านการบริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ
  6. เสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคนพิการและการอยู่ร่วมกันให้กับชุมชนมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ  ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ(DSS)

          1. เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกกับความพิการทางการเห็น

                   ความพิการทางการเห็นจะมีผลกระทบต่อการใช้การเห็นที่เหลืออยู่ กล่าวคือ ในการเคลื่อนไหวร่างกายคนพิการทางการเห็นสามารถใช้การเห็นส่วนรอบนอก ในขณะที่การอ่านมักจะใช้การเห็นส่วนกลาง ดังนั้นคนที่สูญเสียการเห็นส่วนกลาง เช่น คนที่จอรับภาพเสื่อม อาจใช้การเห็นด้านการอ่านหนังสือไม่ได้แต่ใช้การเห็นทางการเคลื่อนไหวได้และในทางกลับกัน คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับรับจอภาพ จะสูญเสียลานสายตา กูอาจจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหวแต่อาจไม่มีปัญหาในการอ่านอักษรตัวพิมพ์ปกติ เป็นต้น คนที่สูญเสียการเห็นหรือมีความบกพร่องจำเป็นต้องได้รับการสอนให้ใช้ประโยชน์จากการเห็นที่เหลืออยู่

            2. เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกกับความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

                   ความพิการทางการได้ยินใช้ความรุนแรงมากน้อยของการสูญเสียการได้ยินมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งระดับความพิการทางการศึกษาได้แบ่งประเภทคความพิการทางการได้ยินเป็น 2 ประเภท คือ

                   2.1 คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม

                   2.2 คนหูตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง

                   ซึ่งในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสำหรับคนหูหนวกและคนหูตึงนั้น ต้องคำนึงถึงประเภทของการสื่อสารและการได้ยินที่หลงเหลืออยู่ของคนๆนั้น กล่าวคือ สำหรับคนหูหนวก เนื่องจากเป็นบุคคลทที่ไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน เราจึงต้องคำนึงถึงว่าจะใช้วิธีใดทดแทนการได้ยินที่จะช่วยให้สามารเข้าถึงข้อมูล แต่สำหรับคนหูตึง เราอาจจะช่วยในเรื่องของการเพิ่มการได้ยินของเขา แต่ปัจจุบัน ทั้งคนหูหนวกและคนหูตึงใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่รวมกันซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพึงพอใจของแต่ละบุคคล

            3. เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกกับความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างการ

          การจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย จุดประสงค์หลักในการจัดที่นั่งและการจัดท่าทางให้ส่วนต่างๆของร่างกายอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม เพื่อลดแรงกดผิวหนังลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ทรงท่าได้ดีขึ้น เช่น การเสริมเบาะรองนั่ง การเสริมอุปกรณ์พยุงด้านข้างลำตัว การประคองศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้รวมถึงการจัดท่าทางอื่นๆ ให้เหมาะสมด้วย เช่น การยืน การนอน เป็นต้น 

          อุปกรณ์ช่วยส่งเสริมหรือทดแทนการทำงานของอวัยวะที่บกพร่องหรือสูญเสียไปมี 2 ประเภท คือ

                 1. กายอุปกรณ์เสริม คืออุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของอวัยวะนั้นๆให้สามารถใช้งานได้ เช่น เหล็กที่ดามขา

                  2. กายอุปกรณ์เทียม คือ อวัยวะเทียมที่ใช้แทนอวัยวะที่สูญเสียไปหรือไม่สามารถทำงานได้ปกติ  การใช้แขน ขาเทียม

2. บริการสนับสนุนการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป

          1. พบนักศึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อลงทะเบียนแรกรับและสัมภาษณ์นักศึกษาที่มีความประสงค์ขอรับบริการจากศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ ชี้แจงนโยบายและการให้บริการของศูนย์สิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายและขั้นตอนการขอรับบริการจากศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการให้นักศึกษาทราบ

          2. สัมภาษณ์เบื้องต้นเพื่อรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized  Services Plan : ISP)  และแจ้งเรื่องเอกสารเกี่ยวกับความพิการ      ที่นักศึกษาพิการต้องนำมามอบให้ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS) 

          3.  สำรวจความต้องการพื้นฐานที่เอื้อต่อการศึกษาของนักศึกษาพิการ

          4.  คัดกรองนักศึกษาพิการ

          5. ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับความพิการของนักศึกษา  เพื่อระบุประเภทความพิการและบริการที่เหมาะสม

          6.  จัดการประชุมคณะทำงานหรือคณะกรรมการ  เพื่อจัดทำแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized  Services  Plan : ISP) พิจารณาการจัดบริการสิ่งอำนวย ความสะดวกที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลสำหรับนักศึกษาโดยมีนักศึกษาพิการร่วมประชุมด้วยเพื่อให้ข้อมูล แจ้งปัญหาและความต้องการรับบริการหรือการช่วยเหลือและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ(DSS) ทำหน้าที่เลขานุการ

          7.  แจ้งผลการจัดทำแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized  Services  Plan : ISP) ของคณะทำงาน  ให้นักศึกษาพิการทราบในเรื่องการบริการ/ สิ่งอำนวยความสะดวก       ที่ได้รับ ขั้นตอนการรับบริการ  สิทธิและหน้าที่ของนักศึกษาพิการและผู้ที่เกี่ยวข้อง

          8.  ทำบันทึกข้อความแจ้งแผนการจัดบริการ/สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างสมเหตุสมผล (Letter of Reasonable Accommodation) ตามแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized Services Plan : ISP) ให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกต้นภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษานำไปมอบให้อาจารย์ผู้สอนและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการการอำนวยความสะดวกจากอาจารย์ผู้สอนในภาคการศึกษานั้น

          9.  แจ้งให้นักศึกษากรอกแบบขอรับบริการและ/หรือสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กำหนดในแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized  Services Plan : ISP) (ที่เหนือจากการอำนวยความสะดวกในชั้นเรียนจากอาจารย์ผู้สอน) และยื่นต่อศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS)         ตามระยะเวลาที่กำหนด

          10. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS) มีหน้าที่จัดบริการ และ/หรือติดต่อประสานงานอาจารย์ บุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้รับบริการ/หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ตามที่ระบุในแผนการรับบริการเฉพาะบุคคลสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง (Individualized  Services Plan : ISP) และตามระยะเวลาที่กำหนด

          11. พบกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อหารือในกรณีที่มีปัญหาความยุ่งยากในการบริการหรืออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาพิการ

          12.  บันทึกผลการจัดบริการ ติดตามและประเมินผลการจัดบริการทุกภาคการศึกษาและรายงานผู้บริหารตามลำดับขั้น

          13. จัดทำฐานข้อมูลนักศึกษาพิการและดำเนินงานของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS) 

          14.  รักษาข้อมูลด้านความพิการของนักศึกษาที่มารับบริการให้เป็นความลับ

          15. ให้คำปรึกษาและเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเองให้แก่นักศึกษาพิการ เสริมสร้างศักยภาพความเชื่อมั่นในความสามารถของตน  รู้สิทธิและหน้าที่ของตน

          16.  จัดการฝึกอบรมหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการจัดบริการนักศึกษาพิการให้แก่อาจารย์ผู้สอนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

          17.  พิทักษ์สิทธิให้นักศึกษาพิการ

          18.  ให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของนักศึกษา ดูแลเก็บข้อมูลของนักศึกษาพิการเป็นความลับและจะเปิดเผยได้ก็แต่เฉพาะกับคนที่มีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือและต้องได้รับอนุญาตจากนักศึกษาพิการเป็นลายลักษณ์อักษร

          19. ให้คำแนะนำหรือติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการจัด/ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

          20.  จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนห้องสอบหรือสถานที่สำหรับนักศึกษาพิการ

                   -  การจัดห้องสอบเฉพาะสำหรับนักศึกษาพิการ  เช่น  บกพร่องทางการเห็นที่ใช้โปรแกรมอ่านจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ซึ่งมีเสียงดัง อาจจัดสอบที่ห้องอื่นเพื่อไม่ให้ส่งเสียงรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ

                   - การปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งสำหรับนักศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นเลือนรางให้นั่งในจุดที่ไม่มีแสงกระทบกระดานหรือจุดที่เหมาะกับลักษณะการเห็นของนักศึกษาแต่ละคน

                   - การจัดให้นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั่งใกล้กับอาจารย์ผู้สอน 

                   -  การจัดโต๊ะเรียนให้กับนักศึกษาที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนสามารถนั่งเรียนและเข้าออกได้สะดวก

                   -  การปรับตำแหน่งที่นั่งและจัดพื้นในการเคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางร่างกายที่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นระยะเพื่อให้สามารถนั่งได้นานๆ หรือนักศึกษาที่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็น (wheelchair) 

                   - ปรับปรุงอาคาร  สถานที่  เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

          21.  ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

                 -  ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการ

                 -  บันทึกขอผ่อนผันค่าลงทะเบียนเรียน

                 -  บันทึกขอเปลี่ยนแปลงสถานะนักศึกษาพิการ

                 -  การแนะแนวอาชีพและการจัดหางาน

                 -  การจัดที่จอดรถสำหรับคนพิการรวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านยานพาหนะและการเดินทาง

                 -  การจัดหาหอพัก ที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและมีความเหมาะสมกับความพิการ

                 -  การลงทะเบียนแรกรับนักศึกษาพิการ เช่น กองบริการการศึกษา กองพัฒนานักศึกษา 

ศูนย์คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

                 -  การผลิตสื่อ เอกสาร ตำรา หนังสือเรียนฯลฯ  สำหรับนักศึกษาพิการ

          22.  สนับสนุนช่วยเหลือ ร่วมแก้ปัญหาให้กับอาจารย์ผู้สอน บุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการจัดบริการ/สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาพิการ

          23. สนับสนุนช่วยเหลือร่วมแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาพิการในการรับบริการ/สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้เข้าถึงการเรียนการทำกิจกรรมนักศึกษาและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

          24.  ดำเนินการด้านอาสาสมัครและเพื่อนสนิท (Buddy) เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาพิการและจัดทำฐานข้อมูลอาสาสมัครและเพื่อนสนิท (Buddy)

          25. พัฒนาตนเองในเรื่องความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการรวมทั้งความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น

          26. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS) ให้นักศึกษาและบุคลากรทุกคนได้รับทราบรวมทั้งการจัดกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้ การสร้างความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับความพิการและการอยู่ร่วมกันให้กับชุมชนมหาวิทยาลัย

          27.  การจัดการเวลา -  การเพิ่มเวลาในการอ่านข้อสอบ  การเข้าสอบ การเพิ่มเวลาในการทำงาน 

          28.  บริการอ่านข้อสอบ  สอบย่อย  สอบเก็บคะแนน  สอบกลางภาค  สอบปลายภาค

          29.  ฝึกทักษะการดำรงชีวิตให้กับนักศึกษาพิการทุกประเภท

          30.  จัดทำแผนการเชื่อมต่อนักศึกษาพิการ (Individualized  Transition Plan : ITP) สำหรับนักศึกษาพิการชั้นปีที่ 1 หรือนักศึกษาพิการที่เพิ่งพบความพิการ

          31.  ผู้ช่วยจดคำบรรยายในชั้นเรียน (Note  taker)

          32.  สอนเสริมนอกเวลาเรียน

          33. จัดหาสวัสดิการต่างๆ  เช่น  ทุนการศึกษา หอพัก  ที่พัก เป็นต้น

          34. ส่งเสริมการมีงานทำ ฝึกอาชีพให้นักศึกษาพิการเพื่อสู่การมีงานทำ

          35. สร้างเครือข่ายทางการศึกษาพิเศษ ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ ผู้ปกครอง 

          36. รายงานผลการดำเนินงานต่อกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และหน่วยงานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องทุกปีงบประมาณ เช่น  ผลการดำเนินงาน  จำนวนนักศึกษาพิการ         สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ

การจัดบริการ สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวย ความสะดวกของมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อคนพิการ

1. บริการที่จัดให้แก่นักศึกษาพิการทางการเห็น  ได้แก่ 

-หนังสือ  เอกสารอักษรเบรลล์ 

-ขยายตัวอักษร 

-บันทึกและสำเนาเสียงการเรียนการสอน 

-ผลิตจัดทำหนังสือเสียง

-ทำสื่อภาพนูน  สื่อนูน 

-บริการสื่อ  สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการศึกษา 

-บริการอ่านข้อสอบ บริการจัดทำข้อสอบและอำนวยความสะดวกในการสอบ 

-บริการสอนเสริมนอกเวลาเรียน

-บริการผู้ช่วยจดคำบรรยาย

-ฝึกทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) 

-การแนะนำการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย 

2. บริการที่จัดให้แก่นักศึกษาพิการทางการได้ยิน  ได้แก่

-ผู้ช่วยจดคำบรรยาย

-บริการสอนเสริมนอกเวลาเรียน

-บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี

-ล่ามภาษามือ

3. บริการที่จัดให้แก่นักศึกษาพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ

-บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก  เทคโนโลยี    เช่น รถเข็น ไม้ค้ำยัน  ปรับเปลี่ยนห้องเรียน

4. บริการอื่นๆ สำหรับนักศึกษาพิการทุกประเภท

          -เงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา  ให้คำปรึกษาแนะแนวเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม  จัดหาผู้ช่วยนักศึกษาพิการ  อาสาสมัคร เพื่อนสนิท(Buddy)  หอพัก 

เงินกู้ยืมทางการศึกษา  บริการสอนเสริมนอกเวลาเรียน  จัดหางานระหว่างเรียน  จัดหาทุนการศึกษา 

กฎหมายสิทธิต่างๆ  ฝึกอาชีพ อาชีพเสริมระหว่างเรียน  การเตรียมตัวก่อนสำเร็จการศึกษา การสมัครงาน  สุขภาพ  กีฬา ภาษา  เป็นต้น

สรุปผลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

https://drive.google.com/file/d/1_73Kw3WFlDOpNe3HKz4OaQ9k_A1Mymik/view?usp=sharing

 

 

@LPRU การเปิดเผยข้อมูลการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง