ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีหลักสูตรที่พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร โดยได้กำหนดข้อมูลการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา ที่เป็นอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
คณะ/ระดับ/ชื่อหลักสูตร |
ชื่อสาขาวิชา |
หลักสูตร |
การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน (ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา) |
คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา |
คณะครุศาสตร์ |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ( 4 ปี) |
- |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาวิเคราะห์งานในหน้าที่ครู วิเคราะห์จุดเด่นและจุดพัฒนาของตนเองเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่แสดงออกถึงความรัก ศรัทธาในวิชาชีพครู ผลการวิเคราะห์ลักษณะของตนเองและครู รวมถึงเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับความเป็นครู ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสืบค้น และวิเคราะห์สภาพปัญหาผู้เรียนเปรียบเทียบกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อออกแบบการวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนและจัดทำรายงานการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนและชุมชน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาการประถมศึกษา (4 ปี) |
ใหม่ พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาวิเคราะห์งานในหน้าที่ครู วิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของตนเอง เพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่แสดงออกถึงความรัก ศรัทธาในวิชาชีพครู ผลการวิเคราะห์ลักษณะของตนเองและครู รวมถึงเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับความเป็นครูระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือท้องถิ่นมาประยุกต์ ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสืบค้นและวิเคราะห์สภาพปัญหาผู้เรียนเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ การเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อออกแบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนและจัดทำรายงานการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษา ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน ในการจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนและชุมชน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับ คะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต |
|
|
|
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู |
- |
ปรับปรุง พ.ศ. 2562 |
- |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 3.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. ผ่านกิจกรรมการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนและการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 3.4 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 |
ระดับปริญญาโท |
|
|
|
|
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
ปรับปรุง พ.ศ. 2563 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถเป็นผู้นำทางวิชาการและประสานความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายในการสนับสนุนการเรียนรู้บนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 คือ แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้น แต่งตั้งและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชากรโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว |
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
- |
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2565 คือ แผน 1 แบบวิชาการทั้งการศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ ทำวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 12 หน่วยกิตโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่ สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้งและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ใหม่ พ.ศ. 2561 |
ชั้นปีที่ 1 1.มีความรู้และความเข้าใจใน เนื้อหาสาระ แนวคิด ทฤษฎี การเรียนรู้เทคโนโลยีการศึกษาและการออก แบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ 2. สามารถบูรณาการความรู้เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษา และการออกแบบการเรียนกาสอนอย่างเป็นระบบในระดับท้องถิ่น 3. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ในบริบทของการเปลี่ยนแปลง 4. มีทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ 5. มีความสามารถในการทำงานด้วยตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นในสถานการณ์ที่หลากหลาย 6. สามารถเลือกสถิติหรือข้อมูลทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 8. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ 9. เลือกใช้วิธีการในการจัดการเรียนรู้ และเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ชั้นปีที่ 2 1. มีความเข้าใจในวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษา รวมถึงการออกแบบการเรียนการสอน และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน 2. สามารถออกแบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในประเด็นที่ซับซ้อน เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 3. มีความสามารถในการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาและการออกแบบการเรียนการสอนกับหน่วยงานที่สังกัดได้อย่างเหมาะสมเป็นบุคคลที่มีลักษณะของกัลยาณมิตร 4. มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล 5. สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 6. วางแผนปฏิบัติการจัดการเรียนรู้และเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน |
แผน ก แบบ ก 2 1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางแต่งตั้งและเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 3) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับ การยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ การอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Processing) ดังกล่าว 4) มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2555 |
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน |
ใหม่ พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการประเมินมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ รวมถึงเป็นผู้ร่วมปฏิบัติงานวิจัยที่ดี มีจรรยาบรรณนักวิจัยและนักประเมิน ชั้นปีที่ 2 มีสมรรถนะทางการวิจัยและการประเมินในการผลิตผลงานวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระได้อย่างมีคุณภาพ นำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนางานในหน้าที่ ตลอดจนพัฒนาองค์กรและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม |
แผน ก แบบ ก 2 1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 2) ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 3) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว 4) มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 แผน ข 1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 2) สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่า 3) ต้องเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางแต่งตั้ง และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 4) รายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระ ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ 5) มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) |
ใหม่ พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความเข้าใจหลักทฤษฎีดนตรีสากล และทักษะการฟัง การอ่าน และการเขียนโน้ตสากลมีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติเครื่องเอก และพื้นฐานการปฏิบัติเปียโน มีความเข้าใจองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน เข้าใจบทบาทหน้าที่ครูดนตรี ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีทักษะการปฏิบัติเครื่องเอกอย่างชำนาญ มีความสามารถในการใช้หลักทฤษฎีการประสานเสียงในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี เข้าใจหลักการและวิธีการสอนดนตรี ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความสามารถในการจัดการบริหารวงดนตรีสมัยนิยม การใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ดนตรีสำหรับการผลิตผลงานเพลง และการผลิตสื่อนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนดนตรี มีความเข้าใจกระบวนการวิจัยทางดนตรีศึกษา การเตรียมการสอนวิชาดนตรี และการแสดงดนตรีต่อสาธารณชน ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถบูรณาการบทเพลงทำนองพื้นบ้านมาเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรีสมัยนิยมเพื่อการแสดงต่อสาธารณชน หรือสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรี การท าโครงการวิจัยและนวัตกรรมทางดนตรีศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนดนตรี มีทักษะการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมทางดนตรีในสถานศึกษา สามารถปฏิบัติการสอนวิชาดนตรีในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2. ต้องสอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตร และได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต |
- |
ปรับปรุง พ.ศ. 2563 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ขั้นพื้นฐานของบุคคลตามกฎหมายผ่านการศึกษาในรายวิชาหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทางอาญา ผ่านการเรียน การสอนในรายวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด และนักศึกษาสามารถสืบค้นประเด็นปัญหาสำคัญหรือรวบรวมข้อมูลสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนได้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนเชิงลึก โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ผ่านการเรียนการสอนรายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายครอบครัว และกฎหมายลักษณะมรดก เป็นต้น โดยนักศึกษาเป็นผู้มีทักษะด้านการรวบรวมประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและนำมาคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ได้ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผ่านการเรียนการสอนในรายวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสามารถคิดวิเคราะห์สภาพปัญหาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสามารถคิดวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาได้ และนักศึกษามีทักษะในการให้คำปรึกษาแนะนำ หรือให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนได้ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ใช้บังคับอยู่ในระหว่างที่หลักสูตรเปิดสอนในปีการศึกษานั้น ๆ |
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถวิเคราะห์บริบทของการบริหารงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เบื้องต้นได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ด้านเครื่องมือและเทคนิคทางรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถวิเคราะห์และจัดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภายในสาขาวิชา และกับองค์กรภายนอก ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้ในการการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย พัฒนาทักษะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านกฎหมาย ที่เกิดขึ้นในบริบทของหน่วยงานภาครัฐ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีทักษะที่จำเป็น และมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ มีความสามารถในคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการบริหารด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และด้านกฎหมาย ในการแก้ปัญหาในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน |
1. เรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2. ต้องสอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตรและได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 3. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2564 ที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง |
ปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านรัฐศาสตร์ การเมืองและการปกครอง และสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองเบื้องต้นได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ในทางแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ สามารถสำรวจ วิเคราะห์ประเด็นการเมืองการปกครองในท้องถิ่นในรายวิชาการเมืองการปกครองพื้นที่/ชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์มาอธิบายและประยุกต์ใช้ได้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้เรื่องแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ขั้นสูง และสามารถศึกษาวิจัยในหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับประเด็นการเมืองการปกครอง โดยสามารถใช้กระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์จากทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งสามารถเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้ทางรัฐศาสตร์ และทักษะที่พึงประสงค์ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพและความพร้อมในการทำงาน สามารถนำความรู้ในการเรียนในหลักสูตรสาขาวิชาการเมืองและการปกครอง และสามารถนำทักษะจากการการฝึกประสบการณ์ทางรัฐศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ |
1. เรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาปริญญาตรี พ.ศ.2561 |
หลักสูตรศิลปบัณฑิต |
สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและ มีทักษะในพื้นฐานศิลปะและการออกแบบ ในรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ สุนทรียศาสตร์ การวาดเส้น การวาดเส้นสร้างสรรค์หลักการออกแบบ เขียนแบบพื้นฐาน สีน้ำพื้นฐาน จิตรกรรมพื้นฐาน และภาพพิมพ์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ความเข้าใจและมีทักษะ เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม ในรายวิซา การศึกษาภูมิปัญญาไทยเพื่อศิลปะและการออกแบบ บาติก ล้านนา ประติมากรรมพื้นฐาน กายวิภาคคน และสัตว์ การออกแบบภาพประกอบ การออกแบบโฆษณา การออกแบบสร้างสรรค์ 3 มิติ และศิลปะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถสร้างสรรค์และผลิตผลงานศิลปะและการออกแบบในเชิงพาณิชย์ ในรายวิชาธุรกิจศิลป์ การออกแบบเว็บแอพพลิเคชั่น การออกแบบของที่ระลึก การถ่ายภาพเพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์ นวัตศิลปกรรมไทย ทัศนศิลป์ประยุกต์ การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา และการออกแบบอุตสาหกรรมเซรามิก ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาเข้าสู่กระบวนการศิลปนิพนธ์ มีประสบการณ์จากการฝึกงาน/สหกิจศึกษา สามารถใช้ทักษะการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงได้ และเมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถทำงานด้านที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะและการออกแบบ ได้แก่ นักออกแบบประยุกต์ศิลป์ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ศิลปินอิสระ นักออกแบบการจัดการองค์ความรู้ของท้องถิ่น ที่ปรึกษาทางศิลปะและการออกแบบของท้องถิ่น นักวิชาการศิลปะในส่วนของภาครัฐ รวมทั้งเป็นนักออกแบบสร้างสรรค์ ศิลปะในส่วนของภาคเอกชน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาไทย |
ปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 1. สามารถใช้ภาษาไทยทั้งในการด้านฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อการแสวงหาความรู้ รวมถึงเพื่อการถ่ายทอดความรู้และความคิดของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่รวมถึงเครื่องมือการสื่อสาร อื่น ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงานได้ 2. มีความรู้ในด้านหลักภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาไทย การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารวรรณคดีไทย และคติชนวิทยาพื้นฐาน โดยสามารถคันคว้า วิเคราะห์ และอภิปรายประเด็นปัญหาที่น่าสนใจ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานการศึกษาค้นคว้าได้ ชั้นปีที่ 2 1. สามารถใช้ภาษาไทยรวมถึงวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย ด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของวิชาชีพ 2. สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจทางหลักภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาไทย การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณคดีไทย และติชนวิทยาที่มีความลุ่มลึกมากขึ้น โดยนำเสนอ ผลการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบของรายงานหรือผลงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการออกแบบสร้างสรรค์หรือนำเสนอได้ ชั้นปีที่ 3 1. สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้กระบวนการ รูปแบบ และสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ สอดคล้องกับบริบทของวิชาชีพ สะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรมไทย 2.สามารถคันคว้าในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณคดีไทย ติชนวิทยา โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ อภิปรายตามกระบวนการวิจัยทางมนุษยศาสตร์ได้ 3. สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณคดีไทย คติซนวิทยา รวมถึงภาษาต่างประเทศที่ตนเองสนใจเพื่อผลิตและสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเรียนรู้ หรือแก้ไขปัญหาของตนเอง ชุมชน และสังคมได้ ชั้นปีที่ 4 1. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารในเชิงวิชาการ รวมถึงเชิงวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีวิจารณญาณ 2. สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ศาสตร์สาขาวิซาภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณคดีไทย และติชนวิทยา เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานรายงานการศึกษาค้นคว้า หรือนวัตกรรม โดยบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาภาษาไทยและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถบูรณการองค์ความรู้ทางภาษาไทยควบคู่กับความรู้ในด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการวิเคราะห์ วิจารณ์ รวมถึงวิพากษ์สถานการณ์และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวิจารณญาณ |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1.1 เรียนครบหน่วยกิตและรายวิชา ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร 1.2 มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ 2.1 เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตร 2.2 ผ่านกิจกรรมภาคบังคับตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 2.3 ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ ไว้ในข้อ 2.1 และ 2.2 ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่องานทะเบียนและประมวลผล กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดตามปฏิทินวิชาการ ซึ่งจะประกาศให้ทราบในแต่ละปีการศึกษา |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถพูดนำเสนอในที่สาธารณะด้วยแผนที่ความคิด มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิถีวัฒนธรรมชุมชน รวมไปถึงทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และงานพัฒนาขุมขนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ ภูมิปัญญาและการพึ่งตนเองของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความรู้ ทักษะการใช้วิธีวิทยาในงานพัฒนาชุมชน ไปสู่การวางแผน และจัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ รวมทั้งมีทักษะการคิดวิเคราะห์และบูรณาการในการค้นหาความต้องการ แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนและการจัดการความรู้ชุมชน ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถบริหารจัดการโครงการ สามารถนำข้อมูลมาวางแผน ถอดบทเรียนรวมทั้ง มีความพร้อมในการทำงานด้วยตนเองและมี ส่วนร่วมกับหน่วยงาน องค์กร ขุมซน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2564 |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาจีน |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
PLO 1 มีความรู้และทักษะด้านภาษาจีนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสาร ความรู้ด้านภาษาและ วัฒนธรรมจีนในการทำงานของตนเองและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการเพื่อการประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ 1.1 มีความรู้พื้นฐานทักษะฟัง พูดอ่าน เขียน โครงสร้างไวยากรณ์คำศัพท์เฉพาะ หลักการใช้ภาษาจีนทักษะทางด้านการแปลและความรู้เกี่ยวกับประเทศจีน ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาออกเสียงภาษาจีนได้ถูกต้อง อ่านและเขียนสัทอักษรพินอินได้ และสามารถฟัง พูด อ่าน เขียนคำ วลี และประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในวงคำศัพท์ 800-1,000 คำ และโครงสร้างไวยากรณ์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถฟัง พูด อ่านเขียนคำ วลี ประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันตามสถานการณ์ต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติโดยใช้สถานการณ์จำลอง ในวงคำศัพท์ 1,300-1,600 คำ และโครงสร้างไวยากรณ์ ที่ซับซ้อนขึ้น ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นได้ รวมถึงสามารถอ่านงานเขียนในรูปแบบต่างๆ รวมถึงสามารถเขียนติดต่อสื่อสารเชิงวิชาชีพและธุรกิจเป็นภาษาจีนได้ มีทักษะทางด้านการแปลจีน-ไทย และไทย-จีนได้ ชั้นปีที่ 4 อภิปรายประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ทั้งอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบันเป็นภาษาจีนได้บูรณาการรายวิชาทางภาษาจีนเพื่อประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ 1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ความสามารถในการประยุกต์ใช้ทักษะภาษาจีน ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษารู้และเข้าใจหลักกระบวนการการอ่านออกเสียงภาษาจีน และโครงสร้างไวยากรณ์พื้นฐานได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถคิดและวิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อนได้ทั้งสามารถนำทักษะทางด้านการฟัง อ่าน เขียน มาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ทั้งในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ต่างๆได้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ภาษาจีนในการฝึกปฏิบัติภายใต้สถานการณ์จำลองเชิงวิชาชีพพร้อมทั้งสามารถประเมินทักษะของตนตนเองได้ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาบูรณ าการภาษาจีนไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ได้อย่างสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 1.3 สามารถบูรณาการภาษาจีนเพื่อการประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ภาษาจีนในการทำงานข้ามวัฒนธรรมสำหรับวิชาชีพต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำทักษะและความรู้ไปเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนได้ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถประยุกต์ทักษะภาษาจีนนำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถประยุกต์ภาษาจีน นำมาใช้สื่อสารในสถานการณ์ จำลองทั้งสามารถบูรณาการร่วมกับรายวิชาอื่นๆในหลักสูตรได้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาบูรณาการทักษะภาษาจีนเพื่อการประกอบอาชีพและสามารถนำทักษะและความรู้ไปเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนได้ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถออกแบบและบูรณาการภาษาจีนเพื่อการประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ภาษาจีนในการทำงานข้ามมวัฒนธรรมสำหรับวิชาชีพต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO 2 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ความรู้ทางภาษาจีนในการสืบค้นข้อมูลและองค์ความรู้ที่ทันสมัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.1 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะความรู้ทางภาษาจีนได้ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทักษะภาษาจีนพื้นฐานได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทักษะภาษาจีนได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินและพัฒนาสมรรถนะของตนเองทางด้านภาษาจีนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบวิชาชีพได้ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศนวัตกรรมและทักษะภาษาจีนนำไปสู่ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม 2.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนวัตกรรมในการสืบค้นข้อมูลและเผยแพร่องค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางภาษาจีน เช่น ออกเสียงภาษาจีนการเขียนสัทอักษรพินอิน การเขียนอักษรจีนได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถใช้ภาษาจีนในการสืบค้นข้อมูลในการพัฒนาทักษะทางภาษาจีนได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับรายวิชาต่างๆในหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 ออกแบบและสร้างนวัตกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางภาษาจีนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
PLO 3 มีคุณธรรมจริยธรรม เคารพกฎกติกาของสังคม ซื้อสัตย์สุจริตเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีวินัย มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผล ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีวินัย มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์สุจริตมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสาธารณ ะ กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผลมีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีวินัย มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์สุจริต มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีจิตสาธารณะ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผล มีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ทั้งนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีภาวะผู้นำ มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสาธารณะมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผล นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ และรับผิดชอบต่อสังคม PLO 4 มีจิตอาสา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผล แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ มีบุคลิกภาพดี รู้จิดิทัลและรู้เท่าทันสื่อ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีจิตอาสา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์รู้ดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีจิตอาสา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์รู้ดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีจิตอาสา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ มีความรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน เป็นแบบอย่างได้ รู้ดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยมีจิตอาสามีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่าง มีเหตุผลและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ บุคลิกภาพดี มีความอดทน มีความรอบครอบละเอียดถี่ถ้วน เป็นแบบอย่าง รู้ดิจิทัลและรู้เท่าทันสื่อ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 4. ยื่นผลคะแนนการวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ระดับ 4 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ที่ผ่านตามเกณฑ์การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ในระดับนั้น ๆ |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2563 |
ชั้นปีที่ 1 ทักษะการฟังและการพูด สามารถสื่อสารโดยฟัง จับประเด็นหลักและโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องรอบตัวและเรื่องที่ตนสนใจ ทักษะการอ่านและการเขียน สามารถอ่านจับใจความตัวบทที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน สามารถเขียนอนุเฉท (paragraph) ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนในรูปแบบต่างๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องรอบตัวและเรื่องที่ตนสนใจโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชั้นปีที่ 2 ทักษะการฟังและการพูด สามารถสื่อสารโดยฟัง จับประเด็นหลักและโต้ตอบเกี่ยวกับหัวข้อเชิงวิชาการ ทักษะการอ่านและการเขียน สามารถอ่านจับใจความตัวบทที่มีเนื้อหาซับซ้อน สามารถเขียนเรียงความ ที่มีองค์ประกอบครบถ้วนในรูปแบบต่างๆ ในหัวข้อเชิงวิชาการโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง ด้านสัทศาสตร์และสัทวิทยาภาษาอังกฤษเบื้องต้น สามารถอ่านและออกเสียงสัทอักษร (phonetic symbols) ภาษาอังกฤษได้ในระดับคำ โดยศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางภาษา สามารถลงเสียงหนักในระดับคำ (word stress) และใช้ทำนองเสียงแบบต่างๆ (intonations) ในระดับประโยคปกติ(normal intonation) ด้านวิทยาหน่วยคำภาษาอังกฤษ สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของคำในภาษาอังกฤษและระบุที่มาและความหมายของคำได้โดยหลักทางด้านวิทยาหน่วยคำ ด้านวากยสัมพันธ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น สามารถวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยคที่ไม่ซับซ้อนในภาษาอังกฤษ โดยใช้ทฤษฎีทางด้านวากยสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องสามารถอธิบายความหมายและใช้ศัพท์ทางด้านภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้อง ด้านวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน สามารถอธิบายองค์ประกอบทางวรรณกรรมภาษาอังกฤษ โดยอ่านตีความ วิเคราะห์งานประพันธ์ร้อยแก้ว บันเทิงคดีกวีนิพนธ์และบทละคร และสามารถอธิบายความหมายและใช้ศัพท์ ทางด้านวรรณคดีได้อย่างถูกต้อง ด้านการแปล สามารถแปลประโยคและตัวบทประเภทให้ข้อมูลและข่าวสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยประยุกต์ใช้หลักการแปลและภาษาที่เหมาะสมกับตัวบท เพื่อให้ได้ใจความถูกต้องและครบถ้วน ชั้นปีที่ 3 ทักษะการฟังและการพูด สามารถสื่อสารโดยฟัง จับประเด็นหลัก และโต้ตอบเกี่ยวกับหัวข้อเชิงโต้แย้ง ทักษะการอ่านและการเขียน สามารถอ่านจับใจความตัวบทที่มีเนื้อหาซับซ้อน สามารถเขียนเรียงความที่มีองค์ประกอบครบถ้วนในรูปแบบต่างๆ ในหัวข้อเชิงโต้แย้งโดยใช้ภาษาที่ถูกต้องสละสลวย ด้านสัทศาสตร์และสัทวิทยาภาษาอังกฤษระดับสูง สามารถอ่านและออกเสียงสัทอักษรภาษาอังกฤษได้ในระดับประโยค สามารถใช้สัทอักษรในการถ่ายเสียง สามารถลงเสียงหนักในประโยคแบบเน้น และเปรียบเทียบ (emphatic and contrastive stress) ได้ถูกต้อง โดยศึกษาทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการทางภาษา ด้านวากยสัมพันธ์ภาษาอังกฤษระดับสูง สามารถวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของประโยค ที่ซับซ้อนมากขึ้นในภาษาอังกฤษ โดยใช้ทฤษฎีทางด้านวากยสัมพันธ์ ด้านวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน สามารถอธิบายแนวโน้ม ลักษณะงานประพันธ์วัฒนธรรมและสังคมในวรรณคดีอังกฤษและอเมริกันในสมัยต่าง ๆ โดยศึกษาตัวบทที่คัดสรร ด้านการแปล สามารถแปลตัวบทประเภทแสดงความรู้สึก อาทิ ตัวบทคัดสรรจากนวนิยาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยประยุกต์ใช้หลักการแปลและภาษาที่เหมาะสมกับตัวบทแต่ละประเภท ชั้นปีที่ 4 ทักษะการฟังและการพูด สามารถฟัง สรุปใจความสำคัญ สามารถแยกแยะประเภทของข้อมูลในสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์และนำเสนองานในหัวข้อต่างๆ อาทิ การพูดในที่สาธารณะ การนำเสนอรายงานในที่ประชุม โดยใช้สื่อเทคโนโลยี ทักษะการอ่านและการเขียน สามารถแยกแยะประเภทของข้อมูลในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ สามารถเขียนรายงานเชิงวิจัยได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักการเขียนงานวิจัย ด้านภาษาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นประเด็นต่างๆ ในรายวิชาเลือกทางภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ อาทิ วิวัฒนาการภาษาอังกฤษ วาทกรรมวิเคราะห์ (Discourse Analysis) อรรถศาสตร์ วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) สามารถค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลทางภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษ ที่ผู้เรียนสนใจจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และสามารถนำเสนองานโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน สามารถวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ ในรายวิชาเลือกทางวรรณคดี โดยอ่านตีความ วิเคราะห์และเขียนวิจารณ์งานประพันธ์ร้อยแก้ว บันเทิงคดีกวีนิพนธ์และบทละคร อาทิ เชกสเปียร์ วรรณกรรมร่วมสมัยที่ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษ วรรณกรรมกับสิ่งแวดล้อม วรรณกรรมเด็ก สามารถค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลทางวรรณคดีที่ผู้เรียนสนใจจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และสามารถนำเสนองานโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านการแปล สามารถแปลตัวบทประเภทโน้มน้าว ตัวบทคัดสรรจากสุนทรพจน์ คำปราศรัยและ ตัวบทในหัวเรื่องเฉพาะสาขาวิชา อาทิ เศรษฐกิจ ธุรกิจ กฎหมาย จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและ จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยประยุกต์ใช้หลักการแปลและภาษาที่เหมาะสมกับตัวบทแต่ละประเภท สามารถค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการแปลศัพท์สำนวน วิวัฒนาการของคำศัพท์และการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และนำมาใช้ในการแปลได้อย่างเหมาะสมกับตัวบท ตลอดจนสามารถเลือกระดับภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ 1) เรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2) สอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตรและได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 3) มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ 1) เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตรและคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา 2) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ (1) และ (2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผลภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับ ชาวต่างประเทศ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 มีทักษะพื้นฐานในการสื่อสารในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยมีทักษะ การสื่อสารระดับต้น กล่าวคือ มีทักษะการรับสารและส่งสาร ที่ดี เข้าใจประโยคสามัญ ประโยครวมที่ไม่ซับซ้อน และประโยคตามเจตนา สามารถฟังบรรยายในชั้นเรียนได้ รู้จักวัฒนธรรมทางการใช้ภาษาของไทยตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม โดยเรียนรู้ศัพท์ 3,000 คำไวยากรณ์ 150 รูป สามารถสื่อสารในชั้นเรียนและชีวิตประจำวันได้ ชั้นปีที่ 2 มีทักษะที่สูงขึ้นในการสื่อสาร สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนประโยคสามัญ ประโยครวมได้ดี เข้าใจความหมายของประโยคตามเจตนาที่ซับซ้อนขึ้น สามารถถ่ายทอดความคิด ข้อมูลของตนเอง และระหว่างบุคคลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเสนอหน้าชั้นเรียนได้โดยมีเอกสารทวนความจำ ใช้ภาษาพูดได้ถูกต้องตามกาลเทศะ มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะวรรณกรรมไทย เข้าใจเนื้อเรื่องขนาดย่อ และสามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่อง ที่อ่าน หรือเขียนแนะนำหนังสือได้ด้วยภาษาเขียนที่เป็นทางการมากขึ้น โดยเรียนรู้ศัพท์ 6,000 คำไวยากรณ์ 300 รูป สามารถสื่อสารความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรม ชั้นปีที่ 3 มีทักษะขั้นสูงในการสื่อสาร สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถฟัง พูด อ่าน เขียนประโยคซ้อนได้ดี เข้าใจประโยคตามเจตนาที่ซับซ้อนขึ้น สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนได้ อ่าน สรุปและอ้างอิงเอกสาร ตำรา ทางวิชาการภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแปลแบบล่ามได้ในเบื้องต้น พูดนำเสนออย่างเป็นทางการ และกล่าวสุนทรพจน์ได้ โดยเรียนรู้ศัพท์ 9,000 คำไวยากรณ์ 450 รูป สามารถสื่อสารเชิงวิชาการด้วยภาษาระดับทางการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 มีทักษะขั้นสูงและความมั่นใจในการสื่อสาร สามารถเข้าใจโครงสร้างและเจตนาของประโยคได้ทุกรูปแบบ ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต อีกทั้งได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์การจัดประชุม สัมมนา หรือการเข้าร่วมฟังการน าเสนอผลงานการศึกษา การวิจัยต่างๆ ตลอดจนสามารถวิพากษ์ วิจารณ์ผลงานเชิงวิชาการและงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีเหมาะสม ด้วยภาษา ที่ถูกต้องใกล้เคียงกับวัฒนธรรมการสื่อสารของเจ้าของภาษา โดยเรียนรู้ศัพท์ 12,000 คำไวยากรณ์ 600 รูป สามารถสื่อสารเชิงวิชาการและวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1.1 เรียนครบหน่วยกิต จำนวน 121 หน่วยกิต และครบรายวิชา ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร 1.2 มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 คะแนน หรือเทียบเท่า จึงถือว่าเรียนจบหลักสูตรปริญญาตรี 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ 2.1 เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตร 2.2 ผ่านกิจกรรมภาคบังคับตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2.3 ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่ระบุ ไว้ในข้อ (2.1) และ (2.2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่องานทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาดนตรี อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2560
|
- |
1. เรียนครบหน่วยกิตตามโครงสร้างรายวิชาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 2. ต้องสอบได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตร และได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 จาก ค่าระดับคะแนน 4.00 3. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 |
ระดับปริญญาโท |
|
|
|
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาไทย |
ใหม่ พ.ศ. 2563 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาไทย วรรณกรรม และคติชนวิทยาซึ่งเกิดจากการตกผลึกทางความคิด ประสบการณ์ และการวิเคราะห์ ตลอดจนมีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ สามารถสังเคราะห์ข้อมูล ด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีทางภาษาไทย วรรณกรรม และคติชนวิทยา ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถประยุกต์ บูรณาการ หรือคิดค้นนวัตกรรมทางการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติ |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 คือ 1.1 มหาวิทยาลัยจะเสนอชื่อนักศึกษาเพื่อขออนุมัติปริญญาจากสภามหาวิทยาลัย หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ตรวจสอบคุณสมบัติของนักศึกษาว่าผ่านเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของแต่ละระดับและสาขาวิชา 1.2 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาหนึ่ง ๆ มหาวิทยาลัยจะเสนอรายชื่อนักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อขออนุมัติปริญญาจากสภามหาวิทยาลัยสำหรับภาคการศึกษาที่คาดว่าจะเป็นภาคสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษา ให้นักศึกษาทำหนังสือยื่นต่อมหาวิทยาลัยภายใน 30 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษา เพื่อขอให้มหาวิทยาลัยเสนอชื่อนักศึกษาและขออนุมัติปริญญาต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อเสร็จสิ้นภาคการศึกษา ผู้ที่มิได้ยื่นหนังสือดังกล่าว อาจจะได้รับการพิจารณาเสนอชื่อในภาคการศึกษาถัดไปได้ 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 คือ 2.1 แผน ก แบบ ก2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ โดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่อง จากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว 2.2 แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)ด้วยข้อเขียน/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ |
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน |
ใหม่ พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 PLOs1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้และข้อมูลตามหลักการและแนวคิดทฤษฎีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น PLOs2 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและแนวคิดพื้นฐานการจัดทำโครงการ การวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สามารถออกแบบการดำเนินโครงการและการวิจัยทางด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นได้ PLOS3 สามารถอธิบายขั้นตอนของการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง และจัดทำเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาได้ PLOS4 บูรณาการองค์ความรู้เพื่อใช้ในการจัดทำร่างการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน PLOS5 คิดวิเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสารและประสานความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทักษะวิศวกรสังคม PLOs6 รับฟังความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้ ให้เกียรติตนเองและผู้อื่นประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความยืดหยุ่น และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ชั้นปีที่ 2 PLOs1 สามารถอธิบายแนวคิดทฤษฎีและนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้ PLOs2 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและทรัพยากรเพื่อออกแบบวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาผ่านโครงการหรือกระบวนการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับบริบทตามวิชาการ PLOs3 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นกับแผนยุทธศาสตร์ ระดับต่าง ๆ และจัดทำเครื่องมือประเมินผล รวมทั้งการสรุปผล การประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้ตามหลักวิซาการ PLOs4 สามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ผ่านกระบวนการจัดสัมมนาเชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วมด้วยทักษะวิศวกรสังคม PLOS5 สามารถออกแบบระบบ ขั้นตอน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาโดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการด้วยทักษะวิศวกรสังคม PLOs6 สามารถคิดวิเคราะห์ แยกแยะข้อเท็จจริงและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีธรรมาภิบาลตามลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ 4 ประการ ทำงานเป็นทีม เป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ |
1. แผน 1 แบบวิชาการ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และเสนอวิทยานิพนธ์และสอบ ผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย จนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการสอบปากเปล่าให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้ง ซึ่งมีองค์ประกอบตามข้อ 9.3.4 โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบบทความหรือ นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์หรือผลงานวิซาการอื่น ซึ่งสามารถสืบค้นได้ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด 2. แผน 2 แบบวิชาชีพ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้รับดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ด้วยข้อเขียนและ/หรือสอบปากเปล่าในสาขาวิซานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย จนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการสอบปากเปล่าให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ |
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการบริหารนโยบายและกฎหมายมหาชน |
ใหม่ พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 - เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้และข้อมูลตามหลักการและแนวคิดทฤษฎีด้านการบริหารนโยบายและกฎหมายมหาชนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง - มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ และสามารถปรับตัว รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ - คิดวิเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสารและเผยแพร่องค์ความรู้ โดยเลือกใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารได้อย่างเหมาะสม - เข้าใจหลักการและแนวคิดพื้นฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์การ สามารถออกแบบการวิจัยทางด้านการบริหารนโยบายและกฎหมายมหาชนได้ ชั้นปีที่ 2 - อธิบายแนวคิดทฤษฎีและนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบูรณาการในการพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม - สื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้โดยใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้นำ เพื่อวินิจฉัย สั่งการในการประกอบอาชีพและการปฏิบัติหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ในองค์การ - วิเคราะห์ข้อมูลและทรัพยากรเพื่อการวางแผนพัฒนาองค์การตามแนวทางการบริหารนโยบายที่สัมพันธ์กับหลักกฎหมายมหาชนผ่านกระบวนการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับบริบทวิชาการ - วางแผนขั้นตอนการพัฒนาองค์การโดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการด้วยทักษะความร่วมมือ - วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ความเสี่ยงที่มีต่อการบริหารนโยบายที่สัมพันธ์กับหลักกฎหมายมหาชนอย่างเท่าทันต่อสถานการณ์และจัดทำเครื่องมือเพื่อประเมินผล รวมทั้งการสรุปผลการประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้ตามหลักวิชาการ |
1. แผน ก แบบวิชาการ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 300 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ พ.ศ. 2565 2. แผน ข แบบวิชาชีพ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียน / หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และผลงานการค้นคว้าอิสระจะต้องดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ใน Proceeding หรือได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ พ.ศ. 2565 |
ระดับปริญญาเอก |
|
|
|
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
สาขาวิชาภาษาไทย |
ปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ สามารถสังเคราะห์ข้อมูลด้วยกรอบแนวคิด ทฤษฎีทางภาษาไทย วรรณกรรม และคติชนวิทยาเพื่อต่อยอดการวิจัยที่สามารถชี้นำและพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 2-3 สามารถสร้างทฤษฎีทางภาษาไทย วรรณกรรม และคติชนวิทยาเพื่อเปลี่ยนแนวคิด ทิศทาง หรือสร้างแนวโน้มใหม่ของการศึกษาวิจัยภาษาไทย |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 |
คณะวิทยาศาสตร์ |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาการศึกษา ( 4 ปี) |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาวิเคราะห์งานในหน้าที่ครู วิเคราะห์จุดเด่นและจุดพัฒนาของตนเองเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่แสดงออกถึงความรัก ศรัทธาในวิชาชีพครู ผลการวิเคราะห์ลักษณะของตนเองและครู รวมถึงเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับความเป็นครู ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาวิเคราะห์ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสืบค้น และวิเคราะห์สภาพปัญหาผู้เรียนเปรียบเทียบกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อออกแบบการวิจัยพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนและจัดทำรายงานการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำโครงการพัฒนาผู้เรียนและชุมชน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชานวัตกรรมสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ทักษะด้านสารสนเทศ และการสื่อสาร ผ่านกิจกรรมปลูกจิตสำนึกความเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการบริการวิชาการโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนและท้องถิ่น ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้และทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม พัฒนาทักษะทางวิชาการ งานวิจัยด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย และมีทักษะในการแก้ไขปัญหาด้วยการบูรณาการควบคู่กับการทำงานในสถานประกอบการ และการทำงานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับ คะแนน 4.00 3.3 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมข้อมูล อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักเขียนโปรแกรม : นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ ออกแบบขั้นตอนวิธี และการเขียนโปรแกรม ร่วมกับทักษะการออกแบบขั้นตอนวิธีเพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรมในการแก้ปัญหาได้อย่างคล่องแคล่ว และมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงตรรกะ การออกแบบกระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นนักเขียนโปรแกรม ชั้นปีที่ 2 นักพัฒนาซอฟต์แวร์ : นักศึกษามีความรู้ในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ร่วมกับการมีทักษะในการการออกแบบและสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ตรงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว มีทักษะในการการออกแบบและสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ตรงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และมีทัศนคติที่ดี และมีความตั้งใจที่ดีในการการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิ์ภาพ ชั้นปีที่ 3 นักประมวลผลข้อมูล : นักศึกษามีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ การใช้เครื่องมือและการเขียนโปรแกรมในการประมวลผลข้อมูล ร่วมกับทักษะการใช้เครื่องมือและเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว และมีความสามารถในการเลือกใช้เครื่องเครื่องมือและเขียนโปรแกรมในการประมวลผลข้อมูล เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 นวัตกรด้านข้อมูล : นักศึกษามีความรู้บูรณาการวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ และวิทยาการข้อมูล นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม ร่วมกับทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว และมีความพร้อมในการทำงานทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2564 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2560 |
- |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 |
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถอธิบายมีองค์ความรู้ด้านสุขภาพ, สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้แก่ประชาชน และวิชาชีพสาขาอื่นๆได้ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ประชาชนและผู้มารับบริการในสถานพยาบาล รวมถึงให้การบำบัดโรคเบื้องต้นได้ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพ, สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำหรับจัดทำโครงการแก้ปัญหาด้านสุขภาพแก่ชุมชนได้ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชน เพื่อนำมาวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพของชุมชน รวมถึงการศึกษาวิจัยสุขภาพได้ |
1. เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 |
ระดับปริญญาโท |
|
|
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาเคมีประยุกต์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางเคมีประยุกต์ เพื่อใช้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนทางเคมี โดยใช้ความรู้ที่ศึกษาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิงตัวเลขที่ซับซ้อน โดยการใช้ทักษะความรู้ทางเคมีประยุกต์ขั้นสูง ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ จริยธรรมและความรับผิดชอบในทางวิชาชีพและสังคมอีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อองค์กร ใน บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น โดยมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญ และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ศึกษามาเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อใช้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนโดยใช้ความรู้ที่ศึกษามาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และสังเคราะห์ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนโดยใช้ศาสตร์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีใน การศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตัวเอง รวมทั้งวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิงตัวเลขที่ซับซ้อน โดยการ ทักษะความรู้ทางวิศวกรรมเคมีขั้นสูงต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ จริยธรรม และความรับผิดชอบในทางวิชาชีพและสังคม มีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้องค์กรประพฤติตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมทั้งเชิง วิชาการและวิชาชีพ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อองค์กร ในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นโดยมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพและสามารถวางแผนในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและสามารถสื่อสารเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด ผลงานวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายใน ระดับชาติและนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ |
นักศึกษาที่มีสิทธิได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 แผน ก แบบ ก 1 ต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะ กรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังได้สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวนอย่างน้อย 1 รายการ แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้ระดับแต้มคะแนน เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการสอบที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ ตามประกาศคณะกรรม การอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) ดังกล่าว จำนวนอย่างน้อย 1 รายการ แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยต้องได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียน/หรือปากเปล่าในหลักสูตรสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ จำนวนอย่างน้อย 1 รายการ |
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ |
ใหม่ พ.ศ. 2568 |
ชั้นปีที่ 1 YLO1.1 : จำแนกแยกแยะองค์ประกอบของเนื้อหาคณิตศาสตร์ หลักการและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ YLO1.2 : วินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อดีข้อเสีย และเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานว่ามีความเหมาะสมกับการสอนคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 YLO1.3 : เลือกใช้ภาษา สื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานให้เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ YLO1.4 : มีจิตอาสา มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู YLO1.5 : ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน
ชั้นปีที่ 2 YLO2.1: เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละองค์ประกอบของเนื้อหาคณิตศาสตร์ หลักการและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ YLO2.2: ตระหนักถึงความจำเป็นของปรับมโนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์หลักการและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียน YLO2.3: ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยการบูรณาการองค์ความรู้ภายใต้บริบทต่าง ๆ YLO2.4: ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว YLO2.5: พัฒนาความรู้หรือนวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน YLO2.6: ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้หรือนวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้ |
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา 2. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ |
ใหม่ พ.ศ. 2568 |
|
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา 2. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 3. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ |
ระดับปริญญาเอก |
|
|
|
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ |
ใหม่ พ.ศ. 2568 |
ชั้นปีที่1 YLO 1.1 วิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 YLO 1.2 เลือกใช้และบูรณาการทักษะดิจิทัลในการออกแบบการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้ YLO 1.3 มีจิตอาสา มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู YLO 1.4 เป็นแบบอย่างที่ดีในการสอน
ชั้นปีที่2 YLO 2.1 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานตามบริบทชั้นเรียนที่กำหนด ที่สามารถนำไปใช้และอ้างอิงได้ YLO 2.2 ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยความรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น YLO 2.3 แสดงถึงการปรับมโนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 YLO 2.4 มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและก้าวทันตามความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ ชั้นปีที่3 YLO 3.1 สร้างความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปปรับใช้และอ้างอิงได้ YLO 3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปปรับใช้และอ้างอิงได้ YLO 3.3 เป็นผู้นำในการแสวงหาความรู้ในการสอนคณิตศาสตร์ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้กับแต่ละบริบท |
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา 2. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ |
ใหม่ พ.ศ. 2568 |
|
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา 2. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 และ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 3. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ |
คณะวิทยาการจัดการ |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต |
สาขาวิชาการจัดการ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
PLO1 ชั้นปีที่ 1 SubPLO1A นักศึกษามีความรู้การบริหารจัดการองค์การและคนแบบองค์รวม ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน SubPLO1B นักศึกษามีความรู้กระบวนการและเทคนิคการบริหารจัดการคนและองค์การ SubPLO1C นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม และจรรยาบรรณวิชาชีพ SubPLO1D นักศึกษามีบุคลิกภาพและทักษะในการสื่อสารกับบุคคลอื่นเพื่อการปฏิบัติงานองค์การในอนาคต
PLO2 ชั้นปีที่ 2 SubPLO2A นักศึกษามีความเข้าใจในการทำบัญชีการเงินและการลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ จากการมองเห็นโอกาสทางการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน SubPLO2B นักศึกษาความเข้าใจบริหารจัดการการเงินของตนเองได้ SubPLO2C นักศึกษามีความเข้าใจในการทำธุรกิจที่ต้องจัดการด้านภาษีและการเป็นพลเมืองที่ดี
PLO3 ชั้นปีที่ 3 SubPLO3A นักศึกษาสามารถวางแผนและออกแบบธุรกิจตามความต้องการของผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน SubPLO3B นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยต่อยอดการผลิตสินค้าหรือบริการ ในองค์การหรือธุรกิจ SubPLO3C นักศึกษาสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ชุมชนและองค์การ
PLO4 ชั้นปีที่ 4 SubPLO4A นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้ที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือก่อให้เกิดแนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ชุมชนและองค์การ SubPLO4B นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้น เช่น ความเป็นไปได้ในการขายสินค้าออนไลน์ การผลิตสินค้าต้นแบบ การบริหารจัดการกลุ่ม เป็นต้น มาบริหารจัดการองค์การ ทีม และการทำงานจริงอย่างมีกลยุทธ์และรูปแบบที่ชัดเจน ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพนิเทศศาสตร์ รวมทั้งมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับนักนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษาสามารถผลิตสื่อประเภทต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อผลิตผลงานทางนิเทศศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยบูรณาการองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ และการวิจัย ในการพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความพร้อมในการทำงาน สามารถนำความรู้จากการเรียนในหลักสูตรนิเทศศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพนิเทศศาสตร์ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี. พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2560 |
- |
1. สอบได้ในรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตร รวมทั้งรายวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2. ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 3. ต้องมีการลงทะเบียนเรียนตามหลักสูตร 4. มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
สาขาวิชาโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2567 |
ชั้นปีที่ 1 มีความเข้าใจพื้นฐานด้านการศึกษาทั่วไป การบริหารธุรกิจ การบริหารโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศเบื้องต้น รวมถึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบพหุวัฒนธรรมทั้งลักษณะของบุคคลที่มีความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดได้ ชั้นปีที่ 2 มีความรู้และทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา โครงการ การฝึกปฏิบัติ สามารถทำงานเป็นทีมและตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ชั้นปีที่ 3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์งาน รวมถึงมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อหาคำตอบและแก้ไขปัญหา และออกแบบการทำงานเชิงสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องทางด้านโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ ภายใต้หลักคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ชั้นปีที่ 4 สามารถวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ โดยบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง มีความสามารถด้านการปฏิบัติงานปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบพหุวัฒนธรรม และแก้ไขปัญหาในการทำงานได |
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 2. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามประกาศของมหาวิทยาลัย 3. สอบผ่านการประเมินความรู้และทักษะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 4. กรณีเทียบโอนรายวิชา ต้องมีเวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ 5. มีความประพฤติดีและมีคุณธรรม 6. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
PLO1 ชั้นปีที่ 1 SubPLO1A นักศึกษามีความรู้เชิงหลักการทฤษฎีทางด้านการจดการและมีความรู้เชิงกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นระบบ SubPLO1B นักศึกษามีทักษะส่วนบุคคล ทักษะการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในการปฏิบัติงานตามศาสตร์การจัดการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพ SubPLO1C เสรีภาพ เคารพสิทธิของผู้อื่น เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม SubPLO1D นักศึกษาเป็นผู้ที่รู้เท่าทันสื่อ รู้ดิจิทัล รู้เทคโนโลยี รู้สารสนเทศ รู้จักการสื่อสาร และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
PLO2 ชั้นปีที่ 2 SubPLO2A นักศึกษามีความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการธุรกิจตลาดสมัยใหม่และการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล SubPLO2B นักศึกษามีทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการแก้ไขปัญหาที่นำไปสู่การพัฒนางานและธุรกิจอย่างสร้างสรรค์สำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสมในยุกดิจิทัล SubPLO2C นักศึกษาตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตอาสาเสียสละเพื่อส่วนร่วม SubPLO2D นักศึกษามีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามใฝ่รู้ใฝ่เรียน กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีจิตอาสา มีส่วนช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ SubPLO3B นักศึกษามีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นบนพื้นฐานของเหตุผล มีการทำงานร่วมกับ ชุมชุมท้องถิ่น
PLO3 ชั้นปีที่ 3 SubPLO3A นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้และใช้ทักษะด้านดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล SubPLO3C นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ มีความรู้ด้านกฎหมาย สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคมในยุคดิจิทัล SubPLO3D นักศึกษาเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยต่อยอดการผลิตสินค้าและการให้บริการในองค์การ ธุรกิจ และวิสาหกิจชุมชนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นชุมชนและสังคม
PLO4 ชั้นปีที่ 4 SubPLO4A นักศึกษาสามารถต่อยอดความรู้ก่อให้เกิดแนวคิดและมุมมองใหม่ ที่นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ หรือการสร้างอาชีพ สร้างประโยชน์ต่อตนเอง ท้องถิ่น ชุมชนและองค์การ SubPLO4B นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหาได้ เป็นนักบริหารจัดการ มีความคิดเชิงตรรกะ คิดเป็นระบบ มีความเป็นผู้ประกอบการ |
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 2. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามประกาศของมหาวิทยาลัย 3. สอบผ่านการประเมินความรู้และทักษะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 4. กรณีเทียบโอนรายวิชา ต้องมีเวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ 5. มีความประพฤติดีและมีคุณธรรม 6. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้และมีทักษะด้านการปฏิบัติงานมาตรฐานร้านค้าในธุรกิจสมัยใหม่การบริหารทรัพยากร เป้าหมาย การขาย งานบริการ และ Digital Content ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้และมีทักษะด้านการปฏิบัติงานมาตรฐานร้านค้าในธุรกิจสมัยใหม่ในระดับผู้ช่วยผู้จัดการร้าน การสื่อสาร สุขาภิบาลอาหาร งานบริการ และการตรวจสอบตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้และมีทักษะด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานร้านคุณภาพ การบริหารด้านการเงิน งบกำไรขาดทุน การจัดการสินค้า การตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้ด้านการ Audit ร้านค้าตามมาตรฐาน ในฐานะผู้จัดการฝึกหัด การทำร้ายงาน All Report การบริหารงานบุคคล การปรับปรุงงานและการรายงาน สามารถ นำความรู้และประสบการณ์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านบริหารธุรกิจและการคิดคำนวณ รวมถึงพื้นฐานในการใช้โปรแกรมประยุกต์บนฐานข้อมูลคลาวด์ มีการนำเสนอได้ทั้งการพูด การอ่านจับใจความ และการเขียนได้ในระดับดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในด้านบริหารธุรกิจและการคิดคำนวณในระดับสูง สามารถอธิบายหลักพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการคิดคำนวณตัวเลขเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และอธิบายเหตุผลประกอบอย่างมีหลักการ ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้เรื่องกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ สามารถศึกษาวิจัยข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อนำมา วิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ใช้งานโปรแกรมประยุกต์ด้านธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความพร้อมในการทำงาน สามารถนำความรู้ในการเรียนในหลักสูตรสาขาวิชาบริหารธุรกิจไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพทาง ธุรกิจได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต |
- |
ปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 สามารถทำบัญชีรับจ่ายด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอย่างง่าย มีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชีมีการฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง ชั้นปีที่ 2 มีความรู้พื้นฐานด้านบริหารธุรกิจ สามารถบูรณาการเพื่อจัดทำบัญชีต้นทุนการผลิตและคำนวณพร้อมจัดทำแบบแสดงรายการภาษีอากรได้ มีการฝึกทักษะวิชาชีพและเทคโนโลยีทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง รวมชั่วโมงสะสมไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง ชั้นปีที่ 3 มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีทักษะในการจัดทำรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน มีการฝึกการจัดตั้งองค์กรธุรกิจและฝึกการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการฝึกทักษะวิชาชีพและเทคโนโลยีทางการบัญชีไม่น้อยกว่า 180 ชั่วโมง รวมชั่วโมงสะสมไม่น้อยกว่า 360 ชั่วโมง ชั้นปีที่ 4 มีความสามารถประยุกต์องค์ความรู้ทางวิชาชีพบัญชีในการจัดทำและนำเสนองบการเงินมีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีในยุคดิจิทัล สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) |
- |
ใหม่ พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 มีความรู้และความเข้าใจในจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ สาระสำคัญของศาสตร์ทางการบัญชีเพียงพอที่จะประยุกต์ในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศ มีความสามารถการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหา สามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงในศาสตร์ทางการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และ ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ชั้นปีที่ 2 มีความสามารถประยุกต์และแสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพ มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการระบุปัญหาในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบในการทำงานของตนเองร่วมกับผู้อื่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กร มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2567 |
ชั้นปีที่ 1 เป็นผู้มีความเข้าใจพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการประกอบด้วย พัฒนาการ บริบท แนวคิด ฯลฯ รวมทั้งมีทักษะทางธุรกิจขั้นพื้นฐาน เช่น การตลาด การสื่อสาร การบริการลูกค้า ชั้นปีที่ 2 เป็นผู้มีความรู้และมีทักษะด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ เช่น กิจกรรม รูปแบบการท่องเที่ยว รูปแบบการบริการ โดยเป็นผู้สามารถใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา โครงการ การฝึกปฏิบัติ และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมและมีความซื่อสัตย์ อดทน ชั้นปีที่ 3 เป็นผู้มีความเข้าใจครอบคลุม กระบวนการสร้างนวัตกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ อันประกอบด้วย แนวโน้มและกระแสที่เกิดขึ้นใหม่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเป็นผู้มีทักษะของผู้ประกอบการในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด การออกแบบบริการและการออกแบบประสบการณ์ลูกค้า รวมถึงเป็นผู้ที่มีทักษะทางการวิจัยเพื่อการแสวงหาความรู้ใหม่ ประพฤติตนตามจรรยาบรรณด้านวิชาชีพด้านวิชาชีพการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ชั้นปีที่ 4 เป็นผู้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการให้บริการและพัฒนานวัตกรรม สำหรับการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ โดยพัฒนานวัตกรรมนั้นอย่างมีจริยธรรม เหมาะสมกับบริบทของประเทศและเป็นผู้ที่มีความพร้อมสำหรับโอกาสในการปฏิบัติงานจริงในอนาคตกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย |
1. ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 จาก 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี 2. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามประกาศของมหาวิทยาลัย 3. สอบผ่านการประเมินความรู้และทักษะตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 4. กรณีเทียบโอนรายวิชา ต้องมีเวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ 5. มีความประพฤติดีและมีคุณธรรม 6. การสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 |
ระดับปริญญาโท |
|
|
|
|
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการจัดการ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีทักษะในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดหรือทฤษฎีทางการจัดการ มีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญทางการจัดการในบริบทและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความสามารถในการค้นคว้าหรือพัฒนางานทางด้านการจัดการ มีทักษะความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้แนวคิดหรือทฤษฎีทางการจัดการในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาองค์การได้อย่างเหมาะสม |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 2) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 2) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 |
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
สาขาวิชาการบัญชี |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ เพื่อใช้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ โดยใช้ความรู้ที่ศึกษาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงจรยาบรรณและจริยธรรม รับผิดชอบในวิชาชีพ และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ เพื่อทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ สามารถสื่อสารเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด และเชื่อมโยงเข้าสู่การแก้ปัญหาทางด้านบัญชีและบริหารธุรกิจที่มีความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล |
1. แผน ก แบบ ก 2 แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการหรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)ดังกล่าว ทั้งนี้ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 หรือสูงกว่า 2. แผน ข แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียน/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ และรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้ |
ระดับปริญญาเอก |
|
|
|
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
สาขาวิชาการจัดการ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดหรือทฤษฎีฐานราก และสามารถบูรณาการกับศาสตร์ทางการจัดการและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 2-3 นักศึกษามีความสามารถในการประยุกต์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านงานวิจัยทางด้าน การจัดการและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารที่อยู่ในฐาน ICT |
1. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 2. เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 |
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
PLO1 SubPLO1A นักศึกษาสามารถอธิบายความรู้พื้นฐานในงานก่อสร้างและปฏิบัติงานก่อสร้างพื้นฐานได้ ชั้นปีที่ 1 สามารถเข้าใจส่วนประกอบของอาคาร วัสดุที่ใช้ในอาคารและสามารถใช้เครื่องมือช่างก่อสร้างพื้นฐานได้ ชั้นปีที่ 2 เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนในงานก่อสร้างและมีทักษะในการปฏิบัติงานก่อสร้าง ชั้นปีที่ 3 สามารถจัดลำดับขั้นตอนการทำงานก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง และสามารถเลือกใช้เทคนิคในงานก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 สามารถปฏิบัติงานก่อสร้างในภาคสนามตามหลักวิชาการ SubPLO1B นักศึกษาสามารถเข้าใจรูปแบบและเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ชั้นปีที่ 1 สามารถเข้าใจแบบรูปรายการก่อสร้างได้ และสามารถเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ชั้นปีที่ 2 สามารถเขียนแบบ3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้และสามารถสร้างระบบสารสนเทศอาคารได้อย่างถูกต้อง ชั้นปีที่ 3 สามารถประยุกต์การเขียนแบบคอมพิวเตอร์ในการเขียนแบบงานสำรวจ การประมาณราคางานก่อสร้างได้ ชั้นปีที่ 4 สามารถประยุกต์การเขียนแบบก่อสร้างในการตรวจสอบการปฏิบัติงานจริง
PLO2 SubPLO2A นักศึกษาสามารถอธิบายและประยุกต์ใช้กระบวนการก่อสร้างระบบอาคาร อุปกรณ์ในอาคาร ชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ กระบวนการก่อสร้าง ระบบอาคาร อุปกรณ์ในอาคาร ชั้นปีที่ 2 สามารถอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการก่อสร้าง ระบบอาคาร อุปกรณ์ในอาคารได้ ชั้นปีที่ 3 สามารถใช้ความรู้พื้นฐาน มาใช้ วิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการก่อสร้าง ระบบ อาคาร อุปกรณ์ในอาคารได้อย่าง เหมาะสม ชั้นปีที่ 4 อธิบายและวิเคราะห์กระบวนการก่อสร้าง ระบบอาคาร อุปกรณ์ในอาคารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม SubPLO2B นักศึกษาสามารถอธิบายและประยุกต์ใช้วัสดุก่อสร้างและกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้าง ชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างและกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้าง ชั้นปีที่ 2 สามารถอธิบายคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างและกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบคุณสมบัติได้อย่างถูกต้อง ชั้นปีที่ 3 สามารถประยุกต์ความรู้พื้นฐานคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างในกระบวนการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 สามารถประยุกต์องค์ความรู้วัสดุก่อสร้างในการตรวจสอบการปฏิบัติงานจริง SubPLO2C นักศึกษาสามารถอธิบายและปฏิบัติงานสำรวจงานระดับ งานวัดมุมงานวัดระยะทางงานวางผังเพื่องานก่อสร้าง ชั้นปีที่ 1 มีทักษะการวัดระยะทาง และทำระดับงานก่อสร้าง ชั้นปีที่ 2 มีทักษะการใช้กล้องระดับ กล้องวัดมุม การทำระดับรูปตัวตามยาว และตามขวาง หาพื้นที่และปริมาตรงานดินได้ ชั้นปีที่ 3 มีทักษะการทำวงรอบ การปรับแก้วงรอบ การทำแผนที่ภูมิประเทศ และเขียนเส้นชั้นความสูงได้ ชั้นปีที่ 4 มีทักษะการส่องสกัด การส่องสกัดย้อน การงานวางโค้งวงกลม และสามารถทำงานเป็นทีมได้
PLO3 SubPLO3A นักศึกษาสามารถหาปริมาณวัสดุและประมาณราคางานก่อสร้างได้ ชั้นปีที่ 1 มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และสามารถเข้าใจส่วนประกอบของอาคาร วัสดุที่ใช้ในอาคารสามารถอ่านแบบก่อสร้างได้ ชั้นปีที่ 2 สามารถหาปริมาณงานก่อสร้างและประมาณราคาค่าก่อสร้าง ชั้นปีที่ 3 สามารถวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของราคาค่าก่อสร้างราคาต่อหน่วยการเสนอราคาเพื่อการเสนอราคา หลักการทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้น ชั้นปีที่ 4 สามารถประยุกต์ใช้แนวทางการหาปริมาณงานและประมาณราคาไปใช้ในการทำงานได้ SubPLO3B นักศึกษาสามารถควบคุมงานและตรวจสอบงานก่อสร้างได้ ชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานในการคำนวณและสามารถประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณปริมาณของวัสดุก่อสร้างได้ ชั้นปีที่ 2 ทราบถึงส่วนประกอบของอาคาร วัสดุในการก่อสร้างอาคารเทคนิคการก่อสร้างอาคาร และสามารถเขียนแบบอาคารและงานโยธาต่างๆ ได้ ชั้นปีที่ 3 ทราบถึงขั้นตอนและกระบวนการในการก่อสร้างอาคาร การทดสอบวัสดุในการก่อสร้างอาคารหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบและควบคุมงาน ชั้นปีที่ 4 สามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างสามารถควบคุมและใช้เทคนิคในการก่อสร้างอย่างเหมาะสม
PLO4 SubPLO4A นักศึกษาสามารถคำนวณและออกแบบโครงสร้างคอนกรีตและโครงสร้างเหล็ก ชั้นปีที่ 1 มีความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับระบบการคำนวณและกลศาสตร์พื้นฐาน ชั้นปีที่ 2 มีความรู้เกี่ยวกับสถิติยศาสตร์ระบบแรงและกลศาสตร์ของวัตถุที่เปลี่ยนรูปได้พฤติกรรมของวัตถุเมื่อรับแรง ชั้นปีที่ 3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีโครงสร้างและการวิเคราะห์โครงสร้าง ชั้นปีที่ 4 สามารถคำนวณและออกแบบโครงสร้างคอนกรีตและโครงสร้างเหล็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม SubPLO4B นักศึกษาสามารถคำนวณและออกแบบฐานรากอาคารและงานออกแบบถนน ชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานในการคำนวณและสามารถประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณสำหรับงานฐานรากและงานถนนได้ ชั้นปีที่ 2 เข้าใจแบบก่อสร้างส่วนประกอบของฐานรากเสาเข็มและฐานรากตื้นและส่วนประกอบของงานถนนคอนกรีตและถนนลาดยาง ชั้นปีที่ 3 อธิบายหลักการและประยุกต์ใช้ทางด้านปฐพี-กลศาตร์ในงานก่อสร้างฐานรากอาคารและงานถนนได้ ชั้นปีที่ 4 สามารถคำนวณและออกแบบฐานรากตื้นและฐานรากเสาเข็มออกแบบถนนคอนกรีตและถนนลาดยางได้ SubPLO4C นักศึกษาสามารถวางแผนงานก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 1 รู้และเข้าใจกระบวนการก่อสร้าง ชั้นปีที่ 2 รู้และเข้าใจการควบคุมโครงการก่อสร้าง ชั้นปีที่ 3 มีทักษะและปฏิบัติการควบคุมงานก่อสร้างวางแผนวางแผนการทำงานวางแผนการเงินกำลังคน วัสดุและอุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรงได้ ชั้นปีที่ 4 มีความเป็นนักบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ด้านการเงิน ด้านเวลาและด้านคุณภาพในสายงานก่อสร้าง
PLO5 ชั้นปีที่ 1 เข้าใจและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพงานเขียนแบบ ชั้นปีที่ 2 เข้าใจและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพการปฏิบัติงานก่อสร้างการใช้วัสดุก่อสร้างงานสำรวจ ชั้นปีที่ 3 เข้าใจและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพการออกแบบงานโครงสร้าง ชั้นปีที่ 4 เข้าใจและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพการตรวจและควบคุมงานก่อสร้าง
PLO6 ชั้นปีที่ 1 มีความรู้และความเข้าใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและสามารถสื่อสารได้ ชั้นปีที่ 2 สามารถอธิบายเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและมีความสามารถในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและมีทักษะการสื่อสารที่ดี ชั้นปีที่ 4 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การศึกษาปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ใหม่ พ.ศ. 2562 |
- |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 มีความรู้ในทักษะพื้นฐานและเข้าใจลักษณะองค์รวมในงานวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สามารถเชื่อมโยงความรู้และเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถพัฒนางานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ชั้นปีที่ 3 สามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว และสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างไม่จำกัด ชั้นปีที่ 4 สามารถแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านมาประกอบกันได้ และนำความความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2562 |
- |
1. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 “นักเขียนโปรแกรมมือใหม่” (Basic Programmer) องค์ความรู้ : นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคำนวณ การวิเคราะห์วงจรดิจิทัล และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น รู้จักเครื่องมือช่างและเครื่องมือวัดเบื้องต้น หลักการทำงานและการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ทักษะ : นักศึกษาสามารถปฏิบัติการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรมตามลักษณะงาน การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ ชั้นปีที่ 2 “นักจัดการฐานข้อมูล” (Database Administrator) องค์ความรู้ : นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีทักษะการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วยอัลกอริทึม การเลือกใช้เครื่องมือทางฮาร์ดแวร์และประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และระบบจัดการฐานข้อมูลได้ ทักษะ : นักศึกษาสามารถปฏิบัติการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการจัดการบัญชีแอคเคาท์ จัดสรรพื้นที่บนระบบปฏิบัติการ จัดการระบบฐานข้อมูลด้วยภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงวัตถุได้ ชั้นปีที่ 3 “วิศวกรเครือข่าย” (Network Engineer) องค์ความรู้ : นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการบริหารโครงการซอฟต์แวร์ มีทักษะการวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ มีพื้นฐานวิชาชีพในการพัฒนาและทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทักษะ : นักศึกษาสามารถปฏิบัติการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาเว็บไซต์ พัฒนาแอปพลิเคชัน เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และสามารถดำเนินการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งแบบมีสายและแบบไร้สายได้ ชั้นปีที่ 4 “วิศวกรคอมพิวเตอร์” (Computer Engineer) องค์ความรู้ : นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพ (Hard Skills) และทักษะทางสังคม (Soft Skills) มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์ ทักษะ : นักศึกษาสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาในการดำเนินโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา และการทำงานจริง สามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจที่เกิดขึ้นได้ด้วยการศึกษาและการสะสมประสบการณ์ทางวิชาชีพจากสถานประกอบการ |
1 เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2 มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม และสามารถเขียนแบบทางคอมพิวเตอร์ได้ ชั้นปีที่ 2 มีทักษะในการติดตั้ง ประมาณราคาเพื่อใช้สำหรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ชั้นปีที่ 3 สอบผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร สามารถจัดการและอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงาน ผ่านการอบรมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่วิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้ |
1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ นักศึกษาได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ให้ครบตามหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ โดยมีหน่วยกิตสะสมรวมไม่ต่ำกว่าที่หลักสูตรกำหนดไว้และได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.00 ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1) เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตรและคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา และผ่านการทดสอบในโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ (โรงงาน) 2) ผ่านกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด 3) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1) และ 2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนงานทะเบียนและประเมินผลภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ในด้านการเกษตรทั้งด้านพืชและสัตว์ และสามารถเข้าใจถึงสถานการณ์ในด้านนวัตกรรมการเกษตรที่เป็นปัจจุบัน ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการและมีทักษะในการปฏิบัติทางการเกษตร สามารถนำหลักทฤษฎีมาฝึกปฏิบัติจนเกิดความเชี่ยวชาญ สามารถวางแผนด้านการผลิตพืช การผลิตสัตว์ และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาคทฤษฎีในเกษตรศาสตร์ขั้นสูง หรือนวัตกรรมทางด้านการเกษตรที่ทันต่อเหตุการณ์ มีการฝึกปฏิบัติ และออกแบบ วางแผนการผลิตพืชทั้งในภาคสนามและในโรงเรือนที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ สู่ชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านการเกษตร มาวางแผนการผลิต การตลาดและมีแนวคิดในการนำไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารสุขภาพ อยู่ระหว่างดำเนินการปิดหลักสูตรแบบมีเงื่อนไข |
ปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในด้านวิทยาศาสตร์ และโภชนาการ สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์การแปรรูปอาหารที่ตรงกับแนวทางการบริโภคยุคปัจจุบัน มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยภาษาอังกฤษ ตะหนักรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพสิทธิและยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล มีจิตสาธารณะ มีความอดทนอดกลั้น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและมีสัมมาคารวะ ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้และทักษะด้านการแปรรูปอาหาร และการตรวจสอบคุณลักษณะด้านเคมีกายภาพ และจุลินทรีย์ในอาหาร รวมถึงพื้นฐานองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถมองเห็นแนวทางการประยุกต์ใช้เทคนิคการแปรรูปอาหารที่ตอบสนองการตลาดในปัจจุบัน ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุเจือปนในอาหารเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและยืดอายุการเก็บรักษา นักศึกษามีทักษะด้านการควบคุมคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงการจัดการบริการอาหารให้ถูกหลักโภชนาการสำหรับบุคคลต่างๆ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ร่วมกับองค์ความรู้อาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในการสร้างทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ทักษะต่างๆ ไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติการในสถานการณ์จริงในสถานประกอบการ หรือแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิชาเทคโนโลยีอาหารสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพแนวใหม่ตามแนวทางการบริโภคที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน |
1. นักศึกษาทีมีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 1.2 เรียนครบหน่วยกิต และรายวิชาตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ในหลักสูตร 1.3 มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จาก ค่าระดับคะแนน 4.00 2. นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้ 2.1 เป็นนักศึกษาภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตร 2.2 ผ่านกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2.3 ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ ไว้ในข้อ 2.1 และ 2.2 ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญา ในภาคการศึกษานั้น |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต |
สาขาวิชานวัตกรรมและธุรกิจอาหาร |
ปรับปรุง พ.ศ. 2566 |
ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีอาหารเบื้องต้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมวิศวกรสังคม และการลงพื้นที่วิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจ และหรือ ผู้ประกอบธุรกิจอาหารในชุมชน ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการ มีทักษะและความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจ และหรือ ผู้ประกอบธุรกิจอาหารในชุมชน ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการและมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ และสามารถนำหลักทฤษฎีมาฝึกปฏิบัติจนเกิดความเชี่ยวชาญ สามารถวางแผนการผลิตนวัตกรรมอาหาร การเขียนแผนธุรกิจ และการถ่ายโอนนวัตกรรมสู่การจำหน่ายได้จริงในเชิงพาณิชย์ ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมและธุรกิจอาหร สามารถคิดวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร ในการนำไปปฏิบัติจริงในสถานประกอบการและ/หรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม |
1. เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร 2. มีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 3. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 4. บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี |
คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
|
|
|
ระดับปริญญาตรี |
|
|
|
|
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต |
- |
ใหม่ พ.ศ. 2565 |
1. ความรู้ด้านศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานวิชาชีพ และการประยุกต์ความรู้ทางการพบาลในการพบาล ชั้นปีที่ 1 อธิบายความรู้พื้นฐานด้าน สังคม ภาษา คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ และแนวคิดของการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ และ จรรยาบรรณวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 1) อธิบายความรู้ด้านศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานวิชาชีพ 2) อธิบายความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ชั้นปีที่ 3 1) ประยุกต์ใช้ความรู้ทางการ พยาบาลในการดูแลผู้รับบริการเด็ก ผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ปกติ และทารกแรกเกิด 2) ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการให้การดูแลผู้รับบริการ ชั้นปีที่ 4 1) ประยุกต์ใช้ความรู้ทางการ พยาบาลในการดูแลผู้รับบริการที่มี ปัญหาด้านสุขภาพจิตและสุขภาพ กายทุกช่วงวัย สตรีตั้งครรภ์ปกติ รวม ถึงการทำคลอด และดูแลสตรีตั้ง ครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัยและรักษาโรค เบื้องต้น ในสถานบริการและในชุมชน 2) ประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายวิชาชีพ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและ จริยศาสตร์ในการ ให้การดูแลผู้รับบริการ
2. ใช้การคิดอย่างเป็นระบบในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและในกระบวนการพยาบาล ชั้นปีที่ 1 มีความเข้าใจในสุขภาวะทางจิตวิญญาณของตนเอง และผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ชั้นปีที่ 2 1) สามารถทำงานร่วมระหว่างบุคคล และทีมงาน 2) ใช้การคิดอย่างเป็นระบบในกระบวนการพยาบาลในการดูแล ทางการพยาบาลขั้นพื้นฐาน กับผู้รับ บริการที่ไม่มีปัญหาซับซ้อน 3) เรียนรู้การเป็นพยาบาลวิชาชีพและเกณฑ์การประเมินความรู้เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นปีที่ 3 1) สามารถทำงานร่วมระหว่างบุคคล และชุมชน 2) ใช้การคิดอย่างเป็นระบบในกระบวนการพยาบาลในการดูแล ผู้รับบริการเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ ปกติและทารกแรกเกิด 3) พัฒนาความพร้อมรับการประเมินความรู้เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นปีที่ 4 1) สามารถทำงานร่วมกับชุมชนบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) ใช้การคิดอย่างเป็นระบบในกระบวนการพยาบาลในการดูแล ผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และสุขภาพกายทุกช่วงวัย สตรีตั้ง ครรภ์ปกติ รวมถึงการทำคลอด และ ดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ในสถานบริการและในชุมชน 3) มีความพร้อมในการเป็นพยาบาลวิชาชีพและสามารถสอบผ่านการประเมินความรู้เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล
3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ใช้ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ใช้ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และนำนวัตกรรมทางการพยาบาลไปทดลองใช้ ชั้นปีที่ 4 ใช้ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และนำเสนอผลงานนวัตกรรมทางการพยาบาล
4. ใช้ภาษา วิธีสื่อสารและการนำเสนออย่างเหมาะสมและเป็นสากล ชั้นปีที่ 1 ใช้ภาษา สื่อสารได้ตรง วัตถุประสงค์ ชั้นปีที่ 2 ใช้ภาษา วิธีสื่อสารและการนำเสนอ อย่างเหมาะสม ชั้นปีที่ 3 ใช้ภาษา วิธีสื่อสารและการนำเสนอ อย่างเหมาะสมและเป็นสากล ชั้นปีที่ 4 ใช้ภาษา วิธีสื่อสารและการนำเสนอ อย่างเหมาะสมและเป็นสากล
5. แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและนำจิตอาสาพัฒนาสุขภาพชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นปีที่ 1 แสดงออกถึงการมีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม และจิตอาสา ชั้นปีที่ 2 นำจิตอาสาพัฒนาสุขภาพชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นปีที่ 3 แสดงภาวะผู้นำในการนำจิตอาสาพัฒนาสุขภาพชุมชนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นปีที่ 4 1) เป็นผู้นำในการนำจิตอาสาพัฒนาสุขภาพชุมชนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง 2) การพัฒนาการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ |
1. เรียนครบรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร และมีค่าระดับคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากค่าระดับคะแนน 4.00 และต้องมีคะแนนในหมวดวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.00 ทุกรายวิชา 2. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
ข้อมูล ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2567